หลักของ BCG

หลักของ BCG


คือ การนําความรู้ทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปพัฒนาต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรหรือวัฒนธรรมที่มีอยู่โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เช่น การผลิตสินค้า การขนส่ง การใช้พลังงานทดแทน การบริหารจัดการของเสีย เป็นต้น โมเดล “BCG” เป็นแนวคิดที่รัฐบาลจะใช้แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจระดับฐานราก

(B) = Bio economy (เศรษฐกิจชีวภาพ)
ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
(C) = Circular economy (เศรษฐกิจหมุนเวียน)
ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน คำนึงถึงการนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด
(G) = Green economy (เศรษฐกิจสีเขียว)
ระบบเศรษฐกิจสีเขียว มุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ ลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน

จากผลการดำเนินงานระยะที่ 1 ชุมชนแนวชายฝั่งที่ทำธนาคารปูม้าสามารถนำองค์ความรู้และวัสดุอุปกรณ์ที่ได้รับการหนุนเสริมไปทำกิจกรรมการเพาะและปล่อยลูกปูม้าของจังหวัดตรังและกระบี่ได้ประสบผลสำเร็จโดยผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดที่ตั้งไว้ คือ จำนวน ๑๐๐ แม่ปูม้า/ธนาคารปูม้า (รวม 3,000 ตัว) ผลการดำเนินงานได้จำนวน 626 แม่ปูม้า/ธนาคารปูม้า (รวม 18,796 ตัว) และจำนวนครั้งในการปล่อยไม่น้อยกว่า 30 ครั้ง/ธนาคารปูม้า (ตัวชี้วัด 8 ครั้ง) จากการสังเคราะห์ข้อมูลของการดำเนินงานในระยะที่ 1 พบว่า การทำธนาคารปูม้าให้เกิดความยั่งยืนนั้นยังจำเป็นต้องให้การสนับสนุนชุมชนชายฝั่งและธนาคารปูม้าอีกหลายส่วน
จึงต้องดำเนินการโครงการต่อในระยะที่ 2 เพื่อสนับสนุนธนาคารปูม้าใน ระยะที่ 1 โดยถ่ายทอดองค์ความรู้และการศึกษาดูงานในการยกระดับเป็นศูนย์เรียนรู้ ควรมีการศึกษาการเพิ่มอัตราการรอดของลูกปูม้า โดยการอนุบาลลูก
ปูม้าในโรงอนุบาลลูกปูม้าแบบชุมชนต้นแบบ ต้องให้ชุมชนมีอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ โดยการส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยการจัดการท่องเที่ยวและมีผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากปูม้า จัดทำโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการอนุรักษ์ปูม้า และสื่อวีดีทัศน์กิจกรรมธนาคารปูม้า และจัดทำเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงาน และการดำเนินงานใน ระยะที่ 2 ต้องมีการส่งเสริมให้เยาวชนมีความรู้เกี่ยวกับธนาคารปูม้า โดยการจัดกิจกรรรมสร้าง
จิตใต้สำนึกในการทำธนาคารปูม้า และปลูกหญ้าทะเล การเพิ่มจำนวนธนาคารปูม้าในระบบโรงเพาะฟักชุมชน
การส่งเสริมให้การทำธนาคารปูม้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยการจัดการลดขยะเอาเปลือกปูม้ามาทำปุ๋ย การนำเศษเหลือทิ้งจากปูมาเพิ่มมูลค่าเป็นการลดขยะลงสู่ธรรมชาติ การจัดการความรู้และขยายผลธนาคารปูม้าชุมชน
การประเมินสภาวะการทำการประมงปูม้า เครื่องแยกไข่จากจับปิ้งปูม้า ชุดควบคุมการปล่อยลูกปูม้าอัจฉริยะต้นแบบ การจัดกิจกรรมเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น กิจกรรมวันกินปูม้าตรัง ให้มีการนำปูม้า อาหาร/ผลิตภัณฑ์อาหาร
ที่แปรรูปจากปูม้ามานำเสนอ โดยใช้วิธีการทำธนาคารปูม้าแบบ BCG Model (ภาพที่ 1) ซึ่งจากการดำเนินงานดังกล่าวควรได้รับการหนุนเสริมเพื่อให้ธนาคารปูม้าเกิดความยั่งยืนได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

(B) = Bio economy (เศรษฐกิจชีวภาพ)
ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยการเชื่อมโยงของกิจกรรมของธนาคารปูม้าในระยะที่ 1 และ ระยะที่ 2 คือ การถ่ายทอดองค์ความรู้ การฝึกอบรม สร้างจิตสำนึกการทำธนาคาร ปูม้าและปลูกหญ้าทะเลให้เยาวชน/ธนาคารปูม้าแบบโรงเพาะฟักชุมชน/ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้า/โรงอนุบาลปูม้าแบบชุมชน ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการอนุรักษ์ปูม้า/การทำเครื่องมือประมงปูม้าที่ถูกกฎหมาย/ การให้ความรู้ การเพาะเลี้ยงและปลูกหญ้าทะเลให้กับศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้า/การประเมินสภาวะการทำประมงปูม้า
(C) = Circular economy (เศรษฐกิจหมุนเวียน)
ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน คำนึงถึงการนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด โดยการเชื่อมโยงของกิจกรรมของธนาคารปูม้าในระยะที่ 2 คือ วันกินปูม้าอันดามัน/ผลิตภัณฑ์จากปูม้า การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเชื่อมโยงกับธนาคารปูม้า

(G) = Green economy (เศรษฐกิจสีเขียว)
ระบบเศรษฐกิจสีเขียว มุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ ลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน โดยการเชื่อมโยงของกิจกรรมของธนาคารปูม้าในระยะที่ 2 คือ การจัดการขยะชุมชนบริเวณธนาคารปูม้า/ การดำเนินงานโดยธนาคารปูม้าใช้โซล่าเซลล์ รวมทั้งใช้กับสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม (เครื่องแยกไข่ปูม้าต้นแบบ และควบคุมการปล่อยลูกปูม้าอัจฉริยะต้นแบบ)
การทำธนาคารปูม้าแบบ BCG Model (BCG Crab bank) นำไปสู่การทำธนาคารปูม้าแบบยั่งยืน (Sustainable crab bank) โดยนำข้อมูลผลการดำเนินงานระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ไปเผยแพร่ผลการดำเนินงาน/สื่อวีดีทัศน์กิจกรรมธนาคารปูม้า นิทรรศการธนาคารปูม้า/เว็บไซต์
ในระยะที่ 2 การศึกษาการทำธนาคารปูม้าตามแนวทาง BCG Model จะดำเนินการในพื้นที่เกาะสุกร อำเภอ ปะเหลียน จังหวัดตรัง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการทำธนาคารปูม้า เนื่องจากมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ ชุมชนมีการดำรงชีวิตโดยวิถีแบบดังเดิม เช่น การทำนาปลูกข้าว การเลี้ยงควาย การปลูกแตงโมบนคันนาหลังจากมีการเก็บเกี่ยวข้าว การทำการประมงแบบพื้นบ้าน ตลอดจนมีชายฝั่งทะเลที่สวยงาม เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน มีที่หลบซ่อนตัวของสัตว์น้ำ เป็นต้น ในระยะที่ 1 มีธนาคารปูม้าจำนวน 4 ชุมชน คือ บ้านหาดทรายทอง บ้านเสียมไหม บ้านทุ่ง และบ้านแหลม และในระยะที่ 2 มีการหนุนเสริมจำนวนธนาคารปูม้าอีก 4 ธนาคาร คือ บ้านหาดทรายทอง (2 ธนาคาร) บ้านทุ่ง และบ้านแหลม การทำธนาคารปูม้าต้นแบบโดยใช้ BCG Model ของเกาะสุกรประกอบด้วย ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ (B) โดยมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยการเชื่อมโยงกิจกรรมของธนาคารปูม้าในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 คือ การถ่ายทอดองค์ความรู้ การฝึกอบรม การสร้างจิตสำนึกการทำธนาคารปูม้าให้เยาวชน การทำธนาคารปูม้าแบบโรงเพาะฟักชุมชน ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการอนุรักษ์ปูม้า การประเมินสภาวะการทำประมงปูม้า และการประเมินผลกระทบของการทำธนาคารปูม้าต่อชาวประมง ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (C) ต้องมีการสร้างรายได้ให้ชุมชน โดยการเชื่อมโยงกิจกรรมของธนาคารปูม้าในระยะที่ 1 และ 2 คือ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเชื่อมโยงกับธนาคารปูม้า ผลิตภัณฑ์จากปูม้า ระบบเศรษฐกิจสีเขียว (G) ต้องลดขยะหรือวัสดุเศษเหลือจากปูม้า เช่น เปลือกปูม้า เป็นการลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยการจัดการของเสียจากปูมาทำปุ๋ยเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่า เพิ่มรายได้ให้ชุมชน และทำสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำธนาคารปูม้า เพิ่มจำนวนการปล่อยลูกปูม้าได้มากขึ้น โดยการเชื่อมโยงกิจกรรมของธนาคารปูม้าในระยะที่ 2 คือ การจัดการวัสดุเศษเหลือจากปูม้ามาทำปุ๋ย ทำสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม (เครื่องแยกไข่ปูม้าต้นแบบ และควบคุมการปล่อยลูกปูม้าอัจฉริยะต้นแบบ) และโดยนำข้อมูลผลการดำเนินงานระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ไปเผยแพร่ผลการดำเนินงาน/สื่อวีดีทัศน์กิจกรรมธนาคารปูม้า นิทรรศการธนาคารปูม้า/เว็บไซต์ ภาพที่ 1

ภาพที่ 1 การทำธนาคารปูม้าตามแนวทาง BCG Model เกาะสุกร