วัตถุประสงค์ของโครงการ
การจัดการและส่งเสริมธนาคารปูม้าแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน
ในจังหวัดตรังและกระบี่
- เพื่อจัดการความรู้ ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง และขยายผลการจัดตั้งธนาคารปูม้าชุมชนในพื้นที่ใหม่
และส่งเสริมให้มีความยั่งยืน จำนวน 35 แห่ง 2. เพื่อยกระดับธนาคารปูม้าชุมชน (ระยะที่ ๑) ที่มีศักยภาพให้เป็นศูนย์เรียนรู้ฯ จำนวน 7 แห่ง - เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธนาคารปูม้าชุมชนในพื้นที่เดิมจำนวน 30 แห่ง ศูนย์เรียนรู้ฯ 2 แห่ง ให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน
- เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และส่งเสริมให้ชุมชนในพื้นที่เกาะสุกรจังหวัดตรัง สามารถทำธนาคารปูม้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แปรรูปผลิตภัณฑ์จากปูม้า ประเมินสภาวะการทำประมงปูม้า การประเมินผลกระทบของการทำธนาคารปูม้าต่อชาวประมง การทำปุ๋ยจากเปลือกปูม้า และมีเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่เชื่อมโยงกับการทำธนาคารปูม้า
- เพื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินการโครงการขยายผลธนาคารปูม้า และการอนุรักษ์ทรัพยากรปูม้าใน ทะเลไทย
- เพื่อจัดกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) กิจกรรมวันกินปูม้าตรัง และทำสิ่งประดิษฐ์ต้นแบบ
ความพร้อมขององค์ความรู้ เทคโนโลยี
หรือนวัตกรรมในการขยายผลธนาคารปูม้าให้มีความยั่งยืน
ทีมวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มีงานวิจัยเกี่ยวกับปูม้ามาอย่างต่อเนื่อง มีองค์ความรู้ที่ได้วิจัยและสังเคราะห์และนำเสนอเป็นเอกสารเผยแพร่ให้ชุมชนชายฝั่งมาอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมในประเด็นต่อไปนี้
- องค์ความรู้ในการเพาะฟักปูม้าโดยระบบโรงเพาะฟักปูม้าชุมชน (ธนาคารปูม้า)
- องค์ความรู้ในการบริหารจัดการชุมชนแบบมีส่วนร่วม
- องค์ความรู้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
- องค์ความรู้ในการบริหารจัดการแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน
- องค์ความรู้ในการตรวจวัดคุณภาพน้ำทางการประมง
- องค์ความรู้ในการอนุบาลลูกปูม้าและการเตรียมอาหารลูกปูม้าวัยอ่อน
- องค์ความรู้ในการทำเครื่องมือประมง
- องค์ความรู้ในการจัดการขยะ
- องค์ความรู้ในการประเมินสภาวะการทำการประมงปูม้า การศึกษาการเจริญเติบโตและอัตราการรอดของลูกปูม้า